►ผู้ผลิตเงินพดด้วง
- สมัยสุโขทัย
museumcollection.eurseree.com |
-ตราประจำรัชกาลสมัยสุโขทัย
- สมัยอยุธยา
kanchanapisek.or.th |
-การประทับตราสมัยอยุธยา
http://haab.catholic.or.th ตราจักรสมัยอยุธยา |
http://haab.catholic.or.th ตราทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ |
ตราธรรมจักรหรือตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดินในสมัยอยุธยา จะประทับไว้ด้านหน้าของเงินพดด้วง ส่วนตราประจำรัชกาลจะประทับไว้ด้านหลัง
- สมัยธนบุรี
http://www.bloggang.com |
ในสมัยกรุงธนบุรียงคงใช้เงินพดด้วงอยู่ อีกทั้งมีการสันนิษฐานว่ามีการผลิตเงินพดด้วงเพียง 2 ชนิด คือ เงินพดด้วงตราตรีศูล และเงินพดด้วงตราทวิวุธ
- สมัยรัตนโกสินทร์
เงินตราที่ใช้ในยุคต้นๆยังคงเป็นเงินพดด้วง โดยที่ตราประทับบนเงินพดด้วงคือตราจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน และตราประจำรัชกาล ซึ่งได้แก่
รัชกาลที่ 1 ตราบัวอุณาโลม
รัชกาลที่ 2 ตราครุฑ
รัชกาลที่ 3 ตราปราสาท
รัชกาลที่ 4 ตรามงกุฏ
รัชกาลที่ 5 ตราพระเกี้ยว
รัชกาลที่ 1 ตราบัวอุณาโลม
รัชกาลที่ 2 ตราครุฑ
รัชกาลที่ 3 ตราปราสาท
รัชกาลที่ 4 ตรามงกุฏ
รัชกาลที่ 5 ตราพระเกี้ยว
"สมัยรัชกาลที่ 1"
ลักษณะคล้ายกับในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตราที่ประทับใช้ตราจักร 8 กลีบ เป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาล คือ ตราบัวผัน (มหาอุณาโลม)
"สมัยรัชกาลที่ 2"
คล้ายกับในสมัยรัชกาลที่ 1 แต่เปลี่ยนเป็นตราจักร 6 กลีบ และตราประจำรัชกาลเป็นตราครุฑ
ซึ่งมี 2 แบบ คือ ครุฑอกสั้น และครุฑอกยาว
"สมัยรัชกาลที่ 3"
ตราประจำรัชกาลคือตราปราสาท มีการผลิตพดด้วงที่ระลึกขึ้นหลายตรา ทั้งชนิดที่ทำด้วยทองคำและเงิน ประทับตราต่างๆ เช่น ตราใบมะตูม ตราดอกไม้ ตราหัวลูกศร ตรารวงผึ้ง ตราเฉลว และตราครุฑ-เสี้ยว
"สมัยรัชกาลที่ 4"
ตราประจำรัชกาลเป็นตรา พระมหามงกุฎได้มีการผลิตพดด้วงตราพระเต้าและตราพระมหามงกุฏเถาซึ่งทำด้วยเงินและทองคำเป็นเงินตราที่ระลึก ในช่วงปลายรัชกาล ได้ทรงริเริ่มเปลี่ยนรูปแบบเงินตราเป็นเหรียญแบน และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์เป็นครั้งแรกที่หน้าพระคลังมหาสมบัติและพระราชทาน นามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ"
"สมัยรัชกาลที่ 5"
"สมัยรัชกาลที่ 5"
มีการผลิตเงินพดด้วงเพียง 2 ครั้ง เพื่อใช้เป็นที่ระลึก ไม่ได้ทำออกใช้ทั่วไป
มีตราประทับ ดังนี้ ตราพระเกี้ยว และ ตราพระเกี้ยวพานรองและช่อรำเพย
I have one สมัยอยุธยาตอนต้น
ReplyDelete