Tuesday, January 7, 2014

เงินพดด้วง

นางสาวกตัญญู มหามงคล ม.5 ห้อง 936 เลขที่ 1
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
เสนอ  อาจารย์ประพิศ ฝาคำ

เงินพดด้วง

แบบจำลองเงินพดด้วงด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย

►เงินพดด้วงคืออะไร?

         คือ เงินตราของไทยในสมัยโบราณ ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาเรื่อยมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
       
         ทำมาจากแท่งเงินบริสุทธิ์ โดยมีน้ำหนักเป็นมาตรฐานวัดมูลค่า มีความทนทาน และมีค่าในตัวเอง ผลิตด้วยมือ โดยทุบปลายทั้งสองข้างให้งอเข้าหากัน มีลักษณะรูปร่างคล้ายลูกปืนโบราณ ชาวต่างชาติจึงเรียกเงินชนิดนี้ว่า "Bullet Coin"


 กำเนิดเงินพดด้วง

      การกำเนิดเงินพดด้วง สันนิษฐานว่าเริ่มมีในปลายสมัยน่านเจ้า ก่อนสุโขทัยเล็กน้อย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 และ 18 ซึ่งดัดแปลงมาจากกำไลแบบขากลมของอาณาจักรน่านเจ้ามาทำให้มีขนาดเล็กลงและกะทัดรัด อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือดัดแปลงมาจากเงินฮ้อยหรือเงินลาดขนาดเล็ก 

 เงินพดด้วงภายในพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย

►รูปร่างลักษณะของเงินพดด้วง
         มีสัณฐานกลม มี 6 ด้าน คือ ด้านบนใช้เป็นที่ตีตราประจำแผ่นดิน ด้านหน้าเป็นตราประจำรัชกาล บริเวณปลายทั้งสองข้างเป็นรอยผ่าบากหรือประทับเม็ดข้าวสาร ด้านหลังจะปล่อยว่าง ด้านข้างซ้ายและขวาจะถูกตีให้มีลักษณะงอ ส่วนด้านล่างมักใช้เป็นที่ประทับรอยเม็ดข้าวสาร

►ขนาดและน้ำหนักของเงินพดด้วง

       ขนาดและน้ำหนักมีมากมาย ตั้งแต่หนึ่งบาท สองบาท สิบสลึง สี่บาท หรือหนึ่งตำลึงสิบบาท ยี่สิบบาท สี่สิบบาท และแปดสิบบาท หรือหนึ่งชั่ง แต่ที่ผลิตใช้กันเป็นจำนวนมาก คือ ขนาดหนึ่งบาท ที่ราคาต่ำกว่าอยุธยา ในสมัยอยุธยามีขนาด สองสลึง หนึ่งเฟื้อง สองไพ และหนึ่งไพ ในสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีขนาดสามสลึง และครึ่งไพอีกด้วย




http://www.oknation.net

การผลิตเงินพดด้วงในสมัยต่างๆ

►ผู้ผลิตเงินพดด้วง

  • สมัยสุโขทัย

museumcollection.eurseree.com
         ในสมัยสุโขทัยเงินพดด้วงมักมีตราประทับมากกว่าสองดวง และมักจะเป็นรูปสัตว์ชั้นสูง เช่น วัว กระต่าย หอยสังข์ และราชสีห์ เป็นต้น พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ผลิตแต่ก็เปิดโอกาสให้พ่อค้า ผู้ครองนคร และประชาชนผลิตได้เช่นกัน พดด้วงในยุคนี้จึงมีมาตรฐานไม่แน่นอน

          -ตราประจำรัชกาลสมัยสุโขทัย

http://topicstock.pantip.com

         การประทับตราไม่แน่นอน ไม่มีแบบที่เป็นมาตรฐาน 

  • สมัยอยุธยา

kanchanapisek.or.th
         สมัยอยุธยายังคงใช้เงินพดด้วงเช่นเดียวกับสมัยสุโขทัย แต่ต่างกันตรงที่หลวงเป็นผู้ผูกขาดในการผลิต เงินพดด้วงจึงมีมาตรฐานที่แน่นอนตั้งแต่นั้นมา ลักษณะของพดด้วงในสมัยอยุธยานี้จะต่างจากในสมัยสุโขทัยเล็กน้อย โดยตรงปลายขาที่งอจรดกันนั้นไม่แหลมเท่าของสมัยสุโขทัย ตราที่ประทับส่วนใหญ่จะเป็นตราจักร และตราประจำรัชกาล เช่น ครุฑ ช้าง ราชวัตร พุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น

         -การประทับตราสมัยอยุธยา

http://haab.catholic.or.th
ตราจักรสมัยอยุธยา

http://haab.catholic.or.th
ตราทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

         ตราธรรมจักรหรือตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดินในสมัยอยุธยา จะประทับไว้ด้านหน้าของเงินพดด้วง ส่วนตราประจำรัชกาลจะประทับไว้ด้านหลัง


  • สมัยธนบุรี

http://www.bloggang.com
   
        ในสมัยกรุงธนบุรียงคงใช้เงินพดด้วงอยู่ อีกทั้งมีการสันนิษฐานว่ามีการผลิตเงินพดด้วงเพียง 2 ชนิด คือ เงินพดด้วงตราตรีศูล และเงินพดด้วงตราทวิวุธ

  • สมัยรัตนโกสินทร์
         เงินตราที่ใช้ในยุคต้นๆยังคงเป็นเงินพดด้วง โดยที่ตราประทับบนเงินพดด้วงคือตราจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน และตราประจำรัชกาล ซึ่งได้แก่
         รัชกาลที่ 1 ตราบัวอุณาโลม
         รัชกาลที่ 2 ตราครุฑ
         รัชกาลที่ 3 ตราปราสาท
         รัชกาลที่ 4 ตรามงกุฏ
         รัชกาลที่ 5 ตราพระเกี้ยว
"สมัยรัชกาลที่ 1"


ลักษณะคล้ายกับในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตราที่ประทับใช้ตราจักร 8 กลีบ เป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาล คือ ตราบัวผัน (มหาอุณาโลม)

"สมัยรัชกาลที่ 2"


คล้ายกับในสมัยรัชกาลที่ 1 แต่เปลี่ยนเป็นตราจักร 6 กลีบ และตราประจำรัชกาลเป็นตราครุฑ 
ซึ่งมี 2 แบบ คือ ครุฑอกสั้น และครุฑอกยาว

"สมัยรัชกาลที่ 3"


ตราประจำรัชกาลคือตราปราสาท มีการผลิตพดด้วงที่ระลึกขึ้นหลายตรา ทั้งชนิดที่ทำด้วยทองคำและเงิน ประทับตราต่างๆ เช่น ตราใบมะตูม ตราดอกไม้ ตราหัวลูกศร ตรารวงผึ้ง ตราเฉลว และตราครุฑ-เสี้ยว 

"สมัยรัชกาลที่ 4"


 ตราประจำรัชกาลเป็นตรา พระมหามงกุฎได้มีการผลิตพดด้วงตราพระเต้าและตราพระมหามงกุฏเถาซึ่งทำด้วยเงินและทองคำเป็นเงินตราที่ระลึก ในช่วงปลายรัชกาล ได้ทรงริเริ่มเปลี่ยนรูปแบบเงินตราเป็นเหรียญแบน และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์เป็นครั้งแรกที่หน้าพระคลังมหาสมบัติและพระราชทาน นามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ"

"สมัยรัชกาลที่ 5"


มีการผลิตเงินพดด้วงเพียง 2 ครั้ง เพื่อใช้เป็นที่ระลึก ไม่ได้ทำออกใช้ทั่วไป
มีตราประทับ ดังนี้ ตราพระเกี้ยว และ ตราพระเกี้ยวพานรองและช่อรำเพย

►การประกาศเลิกใช้

         เนื่องจากการค้ากับต่างประเทศขยายตัว ความต้องการเงินไทยจึงมีเพิ่มขึ้น การพลิตเงินพดด้วงนั้นไม่สามารถผลิตได้ทัน อีกทั้งยังสามารถปลอมแปลงได้ง่าย เงินพดด้วงนี้จึงมีการประกาศให้เลิกใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 และถูกยกให้เป็นเงินตราผิดกฎหมายงงินพดด้วงในสมัยต่าง

แหล่งที่มาของข้อมูล